วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ควรแล้วหรือยังที่จะต้องมีประกันภัยสิ่งแวดล้อม!?

จากกรณีที่เกิดเหตุสารเคมีระเบิดภายในท่าเทียบเรือ บี 3 ภายในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เมื่อ วันที่ 25 พ.ย.2553 ที่ผ่านมา สร้างความเสียหายและเป็นอันตรายต่อผู้อาศัยอยู่ในละแวกนิคมอุตสาหกรรมป็นอ ย่างมาก และนั่นก็ไม่ใช่เหตุการเดียว เพราะล่าสุดก็เกิดอุบัติเหตุเรือบรรทุกน้ำตาลของบริษัทไทยมารีนซัพพลายที่ พ่วงมาจำนวนสามลำ ขณะกำลังรับจ้างขนน้ำตาลทรายแดงจากจังหวัดอ่างทองไปส่งยังประเทศ อินโดนีเซีย  เรือลำดังกล่าวบรรทุกน้ำตาลทรายแดงมา 2.4 ตัน มูลค่าความเสียหายกว่า 200 ล้านบาท อุบัติเหตุดังกล่าวมีหลายหน่วยงานเร่งเข้ากู้สถานการณ์ แต่ก็ใช้เวลานับสิบวัน อธิบดีกรมประมงคาดว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากจุดที่เรือล่มจนถึงปากอ่าว ไทยรวมระยะทาง 140 กิโลเมตรนั้น จะคิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 60 ล้านบาท และสำรวจพบปลาตายแล้วกว่า 80 ตัน
สองเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเพียงเหตุการณ์ตัวอย่างที่เกิดขึ้น ถ้านับกับอุบัติที่เกิดขึ้นทั้งทางรถ ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ บ้านเมืองเรามักเป็นอย่างนี้เสมอ คือ เกิดเรื่องทีก็เร่งรีบหาคนออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที อยากบอกว่าไม่ใช่เฉพาะสินค้าอันตรายเท่านั้นที่ควรระมัดระวังในด้านการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางใด ถ้าประมาทเมื่อไหร่ คนขับขี่ไร้จรรยาบัญ ย่อมมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุที่ด้วยกันทั้งนั้น
การแก้ปัญหาด้วยการอบรมพนักงานขับขี่ นั่นคือสิ่งที่ควรทำ เพิ่มขีดความสามารถศักยภาพให้กับพนักงานขับขี่ การตรวจสอบประสิทธิภาพของยานยนต์ น่าจะเป็นการแก้ปัญหาต้นตอที่ถูกจุด แต่ทว่าบางทีเราเตรียมพร้อมแล้ว แต่อุบัติเหตุก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้แบบไม่คาดคิด และถ้าหากอุบัติเหตุนั้นเกิดขึ้นกับ “การขนส่งสินค้าอันตราย” ด้วยแล้ว ก็ยิ่งน่ากลัว เราจะหาวิธีป้องกันอย่างไร และใครจะรับผิดชอบ
ปัญหาในตอนนี้ก็คือว่าไม่มีบริษัทประกันภัยใดที่จะยอมให้ประกันภัยด้าน สิ่งแวดล้อม ได้ยินมาว่าหลายหลายองค์กรได้ร่วมปรึกษาหารือกันมาระดับหนึ่งในเรื่องของการ ประกันภัยสิ่งแวดล้อมนี้ บ้านเมืองอื่นเขาให้ความสำคัญเรื่อง Going green และทำกันมานานแล้วค่ะ เพราะเป็นกระแสของธุรกิจทั่วโลกที่หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ตามความเห็นส่วนตัว อยากให้มีตัวแทนของ 3 หน่วยงาน คือหน่วยงานของรัฐ  ผู้ประกอบการขนส่ง และตัวแทนจากสมาคมประกันภัย ต้องมานั่งจับเข่าคุยกัน หาข้อตกลงตรงกลางว่าเป็นไปได้ไหม อย่างไร เพราะปัจจุบันไทยยังขาดการประกันสิ่งแวดล้อม เชื่อว่าถ้าการประกันภัยสิ่งแวดล้อมสำเร็จ ย่อมมีประโยชน์อย่างแน่นอน เพราะประชาชนก็สามารถอุ่นใจได้ว่าจะมีคนรับผิดชอบความเสียหายให้เขา ผู้รับส่งสินค้าก็มั่นใจได้ว่าจะสามารถจะเช็คพิกัดของรถบรรทุกของตัวเองได้ หากเกิดอุบัติที่ใดก็สามารถประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยกู้ภัยได้ทันท่วงที อย่าแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเลยค่ะ การไปจับกุม และปรับชดเชยค่าเสียหาย ซึ่งอาจเหมายถึงชีวิตของผู้คน และมลภาวะที่เกิดขึ้น มันไม่คุ้มกับความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ร่วมมือกันเสียเถิด ทำให้ประกันภัยสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้น เริ่มต้นกันวันนี้ก็ยังไงก็ยังไม่สายค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น