วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การควบรวมกิจการในจีน

เรื่องนี้เป็นการพูดถึงแนวคิดการควบรวมกิจการของรัฐวิสาหกิจในจีน ต้องขอเกริ่นนำเพื่อให้เห็นถึงวิวัฒนาการของรัฐวิสาหกิจจีนหน่อยเพื่อความ เข้าใจ

ประเทศจีนในยุคที่เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบสังคมนิยมใหม่ๆนั้น กิจการทุกชนิดรัฐบาลคือเจ้าของเพียงผู้เดียว คนจีนทุกคนคือลูกจ้างของรัฐฯ และด้วยเหตุผลทางการเมืองทำให้ในช่วงแรกกิจการของรัฐฯประสพกับภาวะขาด ทุนมหาศาล

ต่อมาภายหลังจากท่าน เติ้ง เสี่ยว ผิง ขึ้นมาบริหารประเทศไม่นานก็มีการปฎิรูปกิจการของรัฐฯขนานใหญ่ ที่ไหนที่ทำไม่สำเร็จรัฐประกาศให้บุคคลภายนอกเข้ามาเทคโอเวอร์ได้เลย
นับจากนั้นมาเพียงไม่กี่ปีก็เกิดเศรษฐีใหม่ที่ขึ้นมาบริหารกิจการของรัฐ ที่แปรรูปแล้วทำให้เกิดกำไรขึ้นมากมาย ขณะเดียวกันรัฐวิสาหกิจสำคัญๆของรัฐฯหลายแห่งก็ยังได้รับการดูแลอยู่แต่เป็น การดูแลในเชิงนโยบายแล้ว ซึ่งก็ยังทำให้รัฐวิสาหิกจสำคัญนี้สามารถเข้มแข็งและเติบโตขึ้นมาอย่างต่อ เนื่อง หลายแห่งก้าวขึ้นมาเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีบทบาทในการพัฒนาประเทศและเป็น เครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐฯเลย
ภายหลังจากรัฐบาลจีนได้ประกาศนโยบาย “เดินออกไปข้างนอก”ซึ่งเป็นนโยบายที่ต้องการผลักดันให้กิจการในจีนออกไปลง ทุนและหาโอกาสทางธุรกิจในต่างประเทศในปี2009รัฐฯเองก็เริ่มตั้งเป้าหมายใหม่ ให้รัฐวิสาหกิจเพื่อให้เกิดการแข่งขันขึ้น
ช่วงการทำงานของผมในช่วงนี้ได้มีโอกาสทำงานกับรัฐวิสาหกิจของจีนหลาย บริษัท แต่ผมกับไม่รู้สึกว่ารัฐวิสาหกิจของเขาจะทำงานช้าหรือไม่กล้าที่จะตัดสินใจ เหมือนกับประเทศอื่น ตรงกันข้ามเขากลับกล้าที่จะออกไปบุกสร้างธุรกิจใหม่ๆกันตลอด ทั้งๆที่เป็นที่ทราบกันดีว่าการบริหารรัฐวิสาหกิจ ที่รัฐเป็นเจ้าของส่วนใหญ่ จะถูกการตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา เช่น รัฐวิสาหกิจของไทย
ทั้งหมดนี้เกิดจากนโยบายของรัฐฯบวกกับเป้าหมายที่รัฐฯจีนตั้งขึ้นใหม่ โดยจีนใช้วิธีการตั้งเป้าหมายให้แก่รัฐวิสาหกิจของจีนเป็นระดับๆคือระดับ ชาติ ระดับมณทล ระดับเมือง แต่เป้าหมายที่ตั้งให้นั้นสูงมาก และเขาไม่เพียงตั้งเป้าหมายให้เท่านั้น หากทำไม่ได้จะถูกควบรวมทันที เช่น กรณีระดับเมืองคือกองสเบียงปักกิ่ง ถูกตั้งเป้าให้ทำยอดขายให้ได้10,000ล้านหยวน(50,000ล้านบาท)ต่อ ปี(ปี2009-2013) และในปี2014ปรับเป็น50,000หยวน(250,000บาท)ปรากฏว่าทำไม่ได้จึงถูกควบรวมกับ รัฐวิสาหกิจหนึ่งของเทียนจิน วิธีการนี้ทุกคนต้องแข่งกันเต็มที่ เพราะหากเกิดการควบรวมเมื่อไหร่ผู้บริหารชุดที่รายได้สู้ไม่ได้ จะหลุดออกไปเลย.ในทางกลับกันด้วยการต่อสู้อย่างหนักนี้ ผมเชื่อว่าในอีก5ปีข้างหร้าแม้ว่ารัฐวิสาหกิจในจีนหลายแห่งจะถูกควบรวม(ล่า สุดมีข้อมูลว่ารัฐวิสาหกิจในจีนมีเหลืออยู่จากเดิม5,000กว่าแห่งเป็น 1,200กว่าแห่ง)แต่ท้ายที่สุดผู้ที่อยู่รอดจะมีบทบาทอย่างสูงในธุรกิจของโลก นี้เลย
นอกจากนี้ในปักกิ่งเองมีเขตเมืองเล็กๆอยู่2เขตที่การพัฒนาไม่เป็นไปตาม เป้าก็ถูกจับควบรวมเขตเหมือนกัน ภายในประเทศเขายังสู้กันขนาดนี้แล้ว
ที่นี้หันมาดูตัวเราบ้าง !รัฐวิสาหกิจเราจะทำอย่างไรดี? เราต้องคิดกันหนักเลย จบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น