วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ปัญหาท่าเรือกรุงเทพ…ศึกนี้จะจบอย่างไร?

ปัญหาท่าเรือกรุงเทพ…ศึกนี้จะจบอย่างไร?

"เมื่อปัญหาความแออัดของท่าเรือกรุงเทพ กลายเป็นศึกใหญ่ระหว่างสมาคมชิปปิ้ง กับกทท.และสมาคมตัวแทนเจ้าของและตัวแทนเรือกรุงเทพ (BSAA)ที่ออกมาเรียกร้องให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยแสดงความรับผิดชอบที่ เกิดจากความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งต่อผู้ให้บริการรวมถึงได้เรียกร้องให้ เจ้าของตัวแทนเรือกรุงเทพ(BSAA) ยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมท่าเรือแออัดกับลูกค้าโดยทันที"


เนื่องจากท่าเรือคลองเตยมีนโยบายที่จะปรับปรุงพัฒนาท่าเรือและอุปกรณ์อำนวย ความสะดวกภายในท่าซึ่งจะทำการปิดปรับปรุงท่าเรือไปทีละท่าหมุนเวียนกันไปจน ครบทั้ง 7 ท่า โดยจะใช้เวลาในการปรับปรุงประมาณ 3 เดือน (หลังจากเจรจาลดเหลือ 45 วัน/ท่า) คาดว่าจะแล้วเสร็จครบทุกท่าภายในเดือนมิถุนายน 2555 ซึ่งในขณะนี้ท่าเรือกรุงเทพกำลังทำการปิดซ่อมแซมรางเครนที่ท่า AB และเปลี่ยนเครนตัวใหม่ ณ ท่าเรือ B ในบริเวณ Terminal 1 ทำให้ปัจจุบันท่าเรือกรุงเทพสามารถใช้งานได้เพียง 5 ท่าเท่านั้น ซึ่งทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับความแอดอัดภายในท่าเรือขึ้น เนื่องจากสายเรือไม่สามารถเข้ามาจอดรับสินค้าได้ตามกำหนดทำให้มีสินค้าที่รอ นำเข้า-ส่งออกติดค้างอยู่ในท่าเรือเป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่าทางท่าเรือจะทำการแจ้งว่าได้เปิดท่าเรือทางฝั่งเขื่อนตะวันตกอีก 3 ท่า คือ ท่า 7 ,8 และ 9  เพื่อบรรเทาปัญหาความแออัดของท่าเรือกรุงเทพ แต่ท่าเรือทางฝั่งตะวันตกดังกล่าวกลับไม่มี Gantry Crane ซึ่งเป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการยกขนคอยให้บริการดังนั้นเรื่อที่เข้า เทียบท่าได้จึงต้องเป็นเรือที่มีเครนเป็นของตัวเองเท่านั้น และเนื่องจากเครนเรือนั้นมีประสิทธิภาพในการยกขนตู้สินค้าไม่เท่า Gantry Crane จึงทำให้ความเร็วในการขนถ่ายตู้สินค้าขึ้นลงจากเรือลดลง

ซึ่งปัญหาความแออัดจากกการปิดปรับปรุงท่าเรือกรุงเทพในครั้งนี้ได้ส่งผล กระทบในวงกว้าง โดยเฉพาะต่อภาคธุรกิจการส่งออกเนื่องจากในช่วงนี้มีเรือเข้ามาเทียบท่าที่ ท่าเรือกรุงเทพเพิ่มขึ้น 16-17% และมีตู้เพิ่มขึ้น 10% ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการพื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วงปี 2552 และการมีสินค้าตกค้างมาจากช่วงวันหยุดสงกรานต์รวมถึงช่วงวันหยุดยาวกลาง เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าจึงเร่งนำสินค้าเข้ามาในช่วงนี้เพิ่มขึ้นมาก ทำให้สินค้าขาเข้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในขณะที่ Facility ของท่าเรือมีการปิดปรับปรุง ทำให้เกิดความไม่สมดุล ระหว่างปริมาณสินค้า และ Facility จนเกิดความแออัดภายในท่าเรือขึ้น ในส่วนของสายเรือต่างๆ ก็ได้รับผลกระทบในเรื่องของการมีภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจนต้องทำการ เรียกเก็บค่า surcharge เพิ่มเติมจากผู้ส่งออกที่เรียกว่า Congestion Surcharge ในอัตรา 50 $/TEU ทั้งนี้ผู้ประกอบการยังต้องมีภาระค่าใช้จ่ายในเรื่องของค่าล่วงเวลาที่จะ ต้องจ่าย ให้แก่ การท่าเรือ และกรมศุลกากร ในกรณีที่ส่งออก-นำเข้านอกช่วงเวลาราชการอีกด้วย


ปัญหาเหล่านี้นอกจากจะทำให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่ม มากขึ้นแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าอีกด้วย กล่าวคือ การส่งสินค้าที่ล่าช้าอาจจะทำให้ลูกค้าไม่พอใจจนปฏิเสธการรับสินค้าได้ ทั้งยังส่งผลกระทบต่อการผลิตที่ต้องหยุดชะงักลงเพราะต้องรออะไหล่หรือชิ้น ส่วนที่นำเข้าจากต่างประเทศซึ่งตกค้างอยู่ในท่าเรือ ซึ่งในบางอุตสาหกรรมที่ไม่สามารถรอได้ผู้ประกอบการก็แก้ปัญหาโดยการเปลี่ยน โหมดการขนส่งมาใช้ทางอากาศแทน และถึงแม้ว่าผู้ประกอบการบางส่วนได้เปลี่ยนไปใช้บริการที่ ICD ลาดกระบังแทนรวมถึงสายเรือได้นำเรือไปเทียบท่าที่ท่าเรืออื่น เช่น ท่าสหไทย ท่ายูนิไทย ท่าTPT ท่า BMT จะช่วยลดความคับคั่งลงไปบ้าง แต่ก็สร้างปัญหาและค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นกับผู้นำเข้าส่งออก นอกจากนี้ แต่ละท่ามีขีดความสามารถในการรับเรือได้จำกัดเช่นเดียวกัน สมาคมเจ้าของและตัวแทนเรือกรุงเทพ (BSAA) จึงบอกสมาชิกที่เป็นสายเรือให้เก็บค่าธรรมเนียมท่าเรือแออัด (CONTINGENCY SURCHARGE หรือ CONGESTION CHARGE) จากเจ้าของสินค้า ซึ่งเป็นการผลักภาระไปยังลูกค้าโดยลูกค้าไม่มีทางเลือก

จากที่กล่าวมาข้างต้นทำให้สมาคมชิปปิ้งแห่งประเทศไทยจึงได้ออกมาเรียกร้อง ให้ท่าเรือกรุงเทพ และการท่าเรือแห่งประเทศไทยร่วมกันแสดงความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิด ขึ้นทั้งต่อผู้ใช้บริการรวมถึงได้เรียกร้องให้สมาคมเจ้าของและตัวแทนเรือ กรุงเทพ (BSAA) และสมาชิกยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมท่าเรือแออัดกับลูกค้าโดยทันที โดยให้เรียกร้องค่าเสียหายเอาจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยตรงแทนการผลัก ภาระมาให้ลูกค้า เนื่องจากเห็นว่าความแออัดและการล่วงเวลาที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากเหตุ สุดวิสัยหรือเกิดจากภัยธรรมชาติและยังไม่ได้เป็นสิ่งที่นอกเหนือการควบคุม ของท่าเรือ แต่เกิดจากการบริหารงานที่ผิดพลาดของท่าเรือกรุงเทพเองที่ไม่มีมาตรการ เตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาที่ดีพอ

ซึ่งการที่สมาคมชิปปิ้งแห่งประเทศไทยออกมาเรียกร้องในครั้งนี้นั้นเป็นสิ่ง ที่การท่าเรือไม่ควรมองข้าม โดยอาจจะใช้วิธีแก้ปัญหาด้วยการเตรียมแผนสำรองสำหรับท่าเรือที่จะปิดปรับ ปรุงเป็นท่าต่อไปเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ปัญหานี้เกิดขึ้นอีกและควรจะทำการ ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการรับรู้ได้อย่างทั่วถึงและเพื่อให้สามารถเตรียม แผนปรับตัวได้ตั้งแต่เนิ่นๆ รวมถึงควรมีการแจ้งแผนการดำเนินงานอื่นๆ ของท่าเรือให้ผู้ประกอบการได้ทราบล่วงหน้าด้วยโดยเฉพาะแผนการดำเนินงานที่ อาจจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ ทั้งนี้สำหรับในส่วนของท่าเรือในส่วนเขื่อนตะวันตกที่เปิดให้บริการทดแทนท่า เรือที่ปิดปรับปรุงนั้นการท่าเรือควรเร่งติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น การจัดให้เช่า Crane รวมถึงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่เข้ามาทำงานในท่าเรือตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น เพื่อรองรับการบริการที่เกิดขึ้นภายในท่าเรือและเป็นการแก้ปัญหาท่าเรือ แออัดได้อีกทางหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น